วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2
ให้นักศึกษาอ่าน  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ    จากการที่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมา ทุกๆประเด็นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นที่ส่งผลประโยชน์ให้ประเทศชาติ บ้านเมือง และประชาชนได้อยู่เย็นเป็นสุขและสามารถปฏิบัติตาม กฎระเบียบที่ได้วางไว้ได้  รวมทั้งเมื่อได้ศึกษาในเนื้อหาก็สามารถทำให้เราเข้าใจและรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ ต่างๆซึ่งทำให้เรารู้เท่าทันกฎหมายทำให้ไม่ให้โดนหลอกได้ง่ายๆ และนอกจากนั้นเราก็สามารถถ่ายทอดความรู้ไปให้คนอื่นได้รู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายมากขึ้นด้วp
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ    สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  มี 15 หมวด 309 มาตรา ได้บัญญัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาไว้ดังนี้
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
 ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
 มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
          ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
          การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน  การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ 4  แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข  การศึกษา และวัฒนธรรม
มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการศึกษา ใน (3), (4) โดย
          (3)  พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ   จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
          (4)    ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การ ทางศาสนาและเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ                
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ   ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้แก่เรื่อง
องค์มนตรี
ที่มา
:
พระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย  
ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี  
ประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี
จำนวน
:
ประธานองคมนตรี 1  คน  และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน  18  คน
หน้าที่
:
ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา

วุฒิสภา
ที่มา
:
1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
2. การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
จำนวน
:
150  คน
1. จำนวน 76 คน มาจากการเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ๆ ละ 1 คน
2. จำนวน 74 คน มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาวุฒิสภา
วาระ
:
6  ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
1. ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 30  วัน
2. ส.ว. ที่มาจากการสรรหาเมื่อสิ้นสุดวาระต้องมีการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
หน้าที่
:
1. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎร
2. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
3. ควบคุมฝ่ายบริหารด้วยการตั้งกระทู้ และขอเปิดอภิปรายทั่วไป (ส.ว. 1/3)  
4. ให้ความเห็นชอบในการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คุณสมบัติ
:
1. สัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์
3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4. ไม่เป็นบุพการี  คู่สมรส  หรือบุตรของ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
5. ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองยังไม่เกิน 5 ปี
6. ไม่เป็น ส.ส. หรือเคยเป็นส.ส. และพ้นจากการเป็น ส.ส.มาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี
7. ไม่เป็น ร.ม.ต. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพ้นจากการดำรงตำแหน่งยังไม่เกิน 5 ปี
8. ส.ว.ที่มีสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วไม่เกิน 2 ปีจะเป็น ร.ม.ต. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้

สภาผู้แทนราษฎร
ที่มา
:
มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
จำนวน
:
480 คน
1. จำนวน 400 คนมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ๆ ละ 3 คน
2. จำนวน 80 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน  โดยแบ่งเขตพื้นที่ประเทศออกเป็น 8 กลุ่ม
  กลุ่มละ 10 คน
วาระ
:
4  ปี
1. ถ้าครบวาระให้จัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน
2. ถ้ายุบสภาให้มีการจัดการเลือกตั้งภายใน 45 – 60 วัน
3. ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร
หน้าที่
:
1. แต่งตั้งและควบคุมฝ่ายบริหาร
2. ออกกฎหมาย (พระราชบัญญัติ)
คุณสมบัติ
:
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน
4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือเคยเกิด หรือเคยศึกษา (ไม่น้อยกว่า 5 ปี)  หรือเคยรับราชการ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ไม่น้อยกว่า 5 ปี) ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
5. ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และมีการสิ้นสุดสมาชิกภาพมาแล้วไม่
  น้อยกว่า 2  ปี
6. ไม่เป็นผู้บริหาร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
7. ไม่เป็นข้าราชการ  พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ
8. ไม่เป็นคณะกรรมการในองค์กรอิสระ และองค์กรอื่นในรัฐธรรมนูญ
9. ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ฯลฯ


คณะรัฐมนตรี
ที่มา
:
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการฯ
จำนวน
:
นายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
วาระ
:
4  ปี
หน้าที่
:
บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
1. ด้านความมั่นคง
2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ส่วนกลาง , ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น)
3. ด้านศาสนา สังคม สาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
4. ด้านกฎหมาย และการยุติธรรม
5. ด้านการต่างประเทศ
6. ด้านเศรษฐกิจ
7. ด้านที่ดิน  ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8. ด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน
9.  ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
คุณสมบัติ
:
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
( 4-8  ตามคุณสมบัติของ ส.ว. ข้อ 5 – 9 ของ ส.ส. ฯ)  


4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ   เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ เราสามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
 1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทของกฎหมายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประมวลกฎหมายต่าง ๆ รวมทั้งกฎหมายในส่วนท้องถิ่น
 2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศ ได้แก่ การวางโครงสร้างรูปแบบการปกครองประเทศ การใช้อำนาจรัฐ ที่มาของอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การแบ่งแยก และการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกันของอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
  3. รัฐธรรมนูญวางหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และกำหนดหน้าที่ของพลเมืองของรัฐที่ต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ
  4. รัฐธรรมนูญช่วยทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยกำหนดให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆซึ่งตราออกมาบังคับใช้โดยฝ่ายนิติบัญญัติและนำไปบังคับใช้กับประชาชนโดยฝ่ายบริหาร
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ   ในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญข้าพเจ้าคิดว่าควรที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเฉพาะในบางข้อเท่านั้นที่ยังไม่เป็นธรรมต่อประชาชนเพราะประชาชนส่วนใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่อยากจะได้ความเป็นธรรมไม่อยากให้ใครมาเอาเปรียบแต่ในทำนองเดียวกันในบางข้อที่ดีและมีความชัดเจนในเนื้อหานั้นไม่ควรที่จะต้องไปแก้ไขอีกเพราะนอกจากจะทำให้เนื้อหาผิดเพี้ยนไปแล้วอาจจะทำให้ส่งผลที่ไม่ดีต่อทุกคนได้  แต่ในบางกลุ่มคนที่มีการคัดค้านก็อาจจะเป็นเพราะในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจจะไปขัดผลประโยชน์หรือสิทธิ์ของกลุ่มคนเหล่านั้นจึงทำให้เกิดการต่อต้านขึ้น
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ   ในปันจุบันปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายเนื่องจากการที่บุคคลเหล่านี้คิดแต่ประโยชน์ส่วนตัวโดยอยากแต่จะได้ โดยไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมจึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นมา ส่งผลถึงประเทศชาติ บ้านเมือง  และประชาชนทั่วไปเดือดร้อน  ดังนั้นถ้าจะให้มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองบุคคลที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบด้านต่างๆก็ควรที่จะดูแลและปรับปรุงตนเองให้ดีและมีความชอบธรรมให้มากและเพียรคิดเสมอว่าตนนั้นเป็นตัวแทนของประชาชนทุกในการออกปากออกเสียงในการทำงานต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น