วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่4
1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ  เหตุผลในการประกาศให้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
   ก. ผู้ปกครอง  ข.เด็ก  ค.การศึกษาภาคบังคับ  ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตอบ ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
 เด็ก หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
การศึกษาภาคบังคับหมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษา
ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด


3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบ   ผู้ปกครองที่ไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 6 จะต้อง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้ผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน คือ สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด


4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 21 ข้อ
ตอบ
1.             อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในพรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
2.             อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ จัดการศึกษา บำรุงศาสนา และ สืบสานศิลปวัฒนธรรม
3.             การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของรัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
4.             การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึง
          - คุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ
          - ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน
5.             บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. นี้คือ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ และ ตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
6.             การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานรัฐมนตรีและ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
7.             ส่วนราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี ไม่เป็นนิติบุคคล ส่วน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
8.             สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคค
9.             ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
10.      อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา คือ พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ, พิจารณาเสนอนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษา และพิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
11.      ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
12.      คณะกรรมการสภาการศึกษา กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. 2546
13.       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
14.      หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุง ,ตรวจราชการ และศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
15.      หน่วยงานระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ,กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
16.       บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คือ ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน
17.      บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา และ ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
18.       ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้จัด
19.      หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้ หน่วยงานที่สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ คือหน่วยงานดังต่อไปนี้
            - การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
            - การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ
            - การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
 20. ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ
21. ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คือ
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่3
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม
 1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
ตอบ  จะเป็นสัญญาและข้อตกลงที่ประชาชนทุกคนต้องเข้าใจร่วมกัน เพื่อสนองกฎหมายแม่บท ซึ่งถือว่ากฎหมายแม่บทเป็นตัวกลางที่สำคัญที่สุด ซึ่งข้อตกลงทุกข้อจะต้องสอดคล้องและไม่ขัดแย้งต่อกฎหมายแม่บท

   2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
มาตรา ๗ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่
เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีความภาคภูมิใจในความ
เป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติรวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
ของชาติการกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่ม
สร้างสรรค์ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

   3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   มาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(๑) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(๓) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๙ การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
(๑) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(๒) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
(๓) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ
และประเภทการศึกษา
(๔) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และ
การพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(๕) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(๖) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

   4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  เอกภาพ นโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ และกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา  สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
(๑) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(๒) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการ
สำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ
ต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม                                                              
(๓) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความ
สนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ
หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่าง
รูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ
ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน
มาตรา ๑๖ การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อน
ระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวง
การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับ
ปริญญา
การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย ให้
เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๗ ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้า
เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  
 มาตรา ๑๘ การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถานศึกษา
ดังต่อไปนี้
(๑) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็ก
ก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการ
พิเศษ หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น
(๒) โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันพุทธ
ศาสนาหรือศาสนาอื่น
(๓) ศูนย์การเรียน ได้แก่สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล
ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
มาตรา ๑๙ การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย
หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น ๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๒๐ การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ
สถานศึกษาของเอกชน สถานประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถาน
ประกอบการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๒๑ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัด
การศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงานนั้นได้โดยคำนึงถึงนโยบายและ
มาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

   5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  มาตรา 10  การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน
ในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง
และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
     การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถ
พึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
          การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และ
ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตามกฎกระทรวง
          การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
          ในวรรคแรกเขียนตามมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญ แต่เติมคำว่า "โอกาส" ไว้ด้วย  ซึ่ง
เกินรัฐธรรมนูญ เพราะโอกาสจะให้มากกว่าสิทธิแต่ในมาตรานี้คำว่า "โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ก็ยังไม่ได้รับการตีความว่าหมายความว่าอย่างไร จะต้องไปให้คำจำกัดความต่อไปในขั้น
ปฏิบัติ
          วรรคที่สอง อาจมีความคลุมเครือในประเด็นความบกพร่องทางสังคมแต่ถ้าสามารถ
อธิบายได้ว่าความบกพร่องทางสังคม เช่น เกิดมาในชุมชนที่ยากจน เป็นต้น ส่วนที่ "บุคคล
ซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล" ก็คือผู้ที่ขาดพ่อแม่ผู้ปกครองนั่นเอง ประเด็นที่
ถกเถียงกันก็คือคำ "แรกเกิด" กับ "แรกพบ" คำหลังอาจจะชัดเจนกว่า "แรกเกิด" อาจจะ
ทำให้ทราบยากว่าใครทุพพลภาพ (ทางจิตใจ) หรือสติปัญญา จนกว่าจะมาค้นพบภายหลัง
แต่การตีความกฎหมายคงต้องดูเจตนา ผู้เขียนคงต้องการเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 2 สถานการณ์
คือ แรกเกิดในกรณีที่ทุพพลภาพทางร่างกาย "แรกพบ" ในกรณีที่ทุพพลภาพในด้านจิตใจ
สติปัญญา
         วรรคที่สามของมาตรานี้ ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหมายถึงเด็กที่มีสติปัญญาเลิศ
หรือมีความสมารถเป็นพิเศษก็จะต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ
          มาตรา 11 บิดา มารดาหรือผู้ปกครองที่มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคล
ซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว
          มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
          มาตรา 12 นี้ คือหลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริม
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโก
ที่ประเทศว่า "ทุกคนเพื่อการศึกษา" และนำมากำหนดไว้ในหลักการที่ 2 ในมาตรา 8
ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนี้ ยังได้กำหนดการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบ
ต่างๆ ตามมาตรา 13 และ 14 ดังต่อไปนี้
           มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์
ดังต่อไปนี้
          (1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้
การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
          (2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคล
ซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
          (3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
           มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์
ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
          (1) การสนับสนุนจากรัฐให้ความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ใน
ความดูแลรับผิดชอบ
          (2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
          (3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
          ในมาตรา 14 วรรคหนึ่งนี้ เติมคำว่า "ตามควรแก่กรณี" นั้นเพื่อแยกแยะในประเด็น

   6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
(๑) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(๒) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการ
สำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ
ต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม           
(๓) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความ
สนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ
หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ

   7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ตอบ  สามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติจริงได้โดย
(๑) การจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน
(๒) ให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ เพื่อที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาที่เจอได้
(๓) ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากชีวิตจริง กิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้ทักษะชีวิต
(๔) จัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการความรู้คู่คุณธรรม
(๕) จัดบรรยากาศแหล่งเรียนรู้ให้เหมาะสม และมีสื่อที่หลากหลาย ควรแก่การศึกษา
(๖) มีการประสานงานกับหลายๆฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนและเกี่ยวข้องกับการศึกษา

   8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
ตอบ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓๗ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา
โดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม
และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
การกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้น
เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มี
การศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้
(๑) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ
(๒) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษา
ตามอัธยาศัย
(๓) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
(๔) การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศ
กำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เหตุผลนการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษา
ของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษา
มีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


   9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  เห็นด้วยเพื่อที่จะให้ทั้งประเทศมีความเป็นเอกภาพและลดความวุ่นวายในการศึกษา

   10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  เห็นด้วย เพราะเราควรส่งเสริมให้คนทุกคนมีส่วนในการศึกษา คนในชุมชนควรได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้ชุมชนนั้นๆแข็งแรงและมีความรู้ และกรที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้น ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการสอบถามความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเรียน เพื่อการศึกษาเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนและชุมชน และมีหน้าที่ในการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษา สอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอาศัยความต้องการภายในท้องถิ่น ความพร้อม และความเหมาะสม

   11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวง การประเมินผลและติดตามตรวจสอบ คุณภาพของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน บุคลากรของสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล

   12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ผู้อื่นรู้ว่าผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพนั้น มีความพร้อมในการจัดการศึกษาทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของคุณธรรม ด้านการบริหาร และด้านการสอน เพราะพวกเขาเหล่านั้นได้ผ่านทุกกระบวนการที่ทำให้พวกเขาเป็นครูที่มีคุณภาพ หรือมีเครื่องหมายการันตีว่าเขาเหล่านั้นมีประสิทธิภาพและความพร้อมที่เพียงพอ

   13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ  การระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นโดยการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน โดยการสอบถามจากคนในชุมชน หรือจากผู้รู้ที่มีอยู่ในชุมชน หลังจากนั้นก็จัดทำ หรือคิดพัฒนาเป็นบทเรียนที่บูรณาการกับกิจกรรมในห้องเรียนอย่างเหมาะสม และอาจจะมีการผลิตสื่อต่างๆที่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในชุมชน ที่สามารถหาได้ง่าย และประหยัดซึ่งจะส่งผลดีต่อตัวผู้เรียนทำให้ผู้เรียนตระหนักถึงบ้านเกิดของตนเอง  และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น  ทั้งนี้ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

   14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  การใช้สื่อแต่ละอย่างต้องคำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่ามากที่สุด ส่งเสริมให้โรงเรียนมีการใช้สื่อที่หลากหลายและทันสมัย สนับสนุนให้ผู้เรียนรู้จักเลือกใช้สื่อที่มีประโยชน์และเหมาะสมต่อการศึกษา ถ้าสื่อสิ่งไหนที่พอจะมีอยู่แล้วก็ให้บูรณาการสื่อนั้นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และต้องรู้จักปรับสื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาการสอน